สงครามเศรษฐกิจโลก กระทบไทยแล้ว รัฐบาลจีนขึ้นภาษีนำเข้าข้าว 50% จากแนวโน้มราคาอาหารโลก
ข่าวจากช็อตอเลิร์ทเอ็มโมบายไทยรัฐเมื่อวานนี้ รัฐบาลจีนตั้งการ์ดประกาศขึ้นภาษีนำเข้าข้าวเป็น 50% แต่กระทรวงพาณิชย์แจงว่าไม่กระทบภาษีนำเข้าข้าวของคอฟโก้จีนที่ทำเอ็มโอยูจีทูจีไว้ 1 ล้านตัน ภาษีอยู่ที่ 1%
กระผมจึงได้รวบรวมสถานการณ์ข้าวมาให้วิเคราะห์ทางเศรษฐกิจของประเทศกัน
ปรกติคอฟโก้นิยมซื้อข้าวส่วนที่จะเก็บในสต็อครัฐบาลเองเป็นข้าวเปลือก แต่ปัจจุบันผู้ส่งออกไทยนิยมส่งออกเป็นข้าวสารในตู้คอนเทนเนอร์
แล้วปีนี้เป็นช่วงที่รัฐบาลระบายข้าวหมดสต๊อค ทำโครงการยุ้งฉาง (น่าจะเกิดจากการที่ทางการจีนคำนวนแล้วว่าจะหาแหล่งซัพพลายข้าวได้ยากขึ้น เพราะโรงสีในฟากรัฐบาลเดิมติดคดีก็มีจำนวนมาก) ประมาณว่าประกาศขึ้นภาษีข้าวครั้งนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ เพื่อบังคับให้ผู้นำเข้าของจีนมาซื้อผ่านเอ็มโอยูจีทูจีของรัฐบาลได้เท่านั้นจากปรกติก็ต้องผ่านคณะกรรมการกลางวางแผนเศรษฐกิจในการกำหนดโควต้านำเข้าผ่านคอฟโก้และความซับซ้อนของระบบการขออนุญาตนำเข้าและวางเงินอยู่แล้ว และยิ่งถ้าเป็นข้าวนอกโควต้า ภาษีจะสูงมากถึง 78% แบ่งออกเป็นภาษีนำเข้า 65% และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 13% (ภาษีมูลค่าเพิ่มประกาศใหม่ของจีน 10% ) แต่น่าจะกระทบต่อการนำเข้าข้าวจากชายแดนเวียดนามด้วย หมายถึงความสัมพันธ์ในการนำเข้าข้าวที่ไม่ผ่านมือรัฐบาลน่าจะดีขึ้น
เอ็มโอยูล้านตันที่ 1 ข้าวขาว นำเข้าจีนเมื่อปี 2557 3.5 แสนตัน ส่วนอีก 1.2 แสนตันเอกชนขอนำเข้าต่างหากเป็นข้าวหอมมะลิ ยอดรวมกับข้าวอื่นๆจากไทยของปีนี้อยู่ที่ 7 แสนตัน ปีนี้ปริมาณข้าวเหลือสต็อคของจีนพุ่งขึ้นเป็น 18.9 ล้านตัน ( USDA ระบุว่า 58 ล้านตัน )
เอ็มโอยูล้านตันที่ 2 ข้าวขาว นำเข้าจีนเมื่อปี 2558 5.3 แสนตัน ส่วนอีก 2 แสนตันเอกชนขอนำเข้าต่างหากเป็นข้าวหอมมะลิ ยอดรวมกับข้าวอื่นๆจากไทยของปีนี้อยู่ที่ 9.5 แสนตัน ปีนี้ปริมาณข้าวเหลือสต็อคของจีนพุ่งขึ้นเป็น 21.74 ล้านตัน ( USDA ระบุว่า 58 ล้านตัน )
เอ็มโอยูล้านตันที่ 3 นำเข้าจีนเมื่อปี 2559 4.3 แสนตัน ปีนี้เอกชนขอนำเข้าข้าวหอมมะลิต่างหากไต่ระดับสูงขึ้นเป็น 2.3 แสนตัน ยอดรวมกับข้าวอื่นๆจากไทยของปีนี้อยู่ที่ 1 ล้านตัน
เอ็มโอยูล้านตันที่ 4 ข้าวขาว นำเข้าจีนเมื่อปี 2560 6 แสนตัน ปีนี้เอกชนขอนำเข้าข้าวหอมมะลิต่างหากไต่ระดับสูงขึ้นอีกเป็น 3 แสนตัน ยอดรวมกับข้าวอื่นๆจากไทยของปีนี้อยู่ที่ 1.1 ล้านตัน
เอ็มโอยูล้านตันที่ 5 นำเข้าจีนครึ่งปีแรกของปี 2561 5 แสนตัน
แล้วก็ปีนี้ไทยมีการขายข้าวให้อินโดนีเซียถึง 4.5 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากปรกติ 600% (ปรกติผู้ส่งออกจะขายข้าวให้อินโดนีเซียได้น้อย เพราะอาจจะไม่ได้ค่าแป๊ะเจี๊ยะ หรือ ค่ารวบรวมโวลลุ่มข้าว ที่ปรกติน่าจะจะประมาณเท่านึงของราคาข้าว การส่งออกปริมาณมากกว่าปรกติปีนี้เกิดขึ้นหลังจากการเจรจาจีทูจีมาค่อนข้างนาน แต่กระทรวงพาณิชย์ส่งลูกให้สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยจัดสรรส่วนแบ่งให้ผู้ส่งออกที่เป็นสมาชิกจัดหาและส่งมอบข้าวปีการผลิตใหม่ให้บูล็อค รัฐวิสาหกิจอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ได้มีการห้ามภาคเอกชนนำเข้าข้าว ส่วนนึงเกิดจากผลของการทุจริตและข้าวเสียในโกดังของรัฐบาลทำให้ส่งมอบไม่ได้ทันที การเจรจามักจะรอแต่ข้าวใหม่เพราะเป็นสินค้าอาหารซื้อมาขายไปโดยไม่ระมัดระวังไม่ได้) เป็นสัญญาณความเปลี่ยนแปลงในตลาดข้าวโลก เพราะปรกติรัฐบาลอินโดนีเซียประสบกับความยากลำบากในการนำเข้าข้าวจนต้องรณรงค์ให้ประชาชนอดข้าว 1 วันต่อสัปดาห์ ถึงขั้นประกาศห้ามร้านค้าร้านอาหารขายเมนูข้าว 1 วันใน 1 สัปดาห์ มาแล้ว ส่วนนึงอาจเกิดจากการระดมหาเงินสดของกลุ่มโรงสีเพื่อเตรียมการเล่นการเมืองเพราะนโยบายรัฐส่งผลต่อธุรกิจ ปี 58 อินโดนีเซียนำเข้าข้าวจากไทย 2.7 แสนตัน ปี 59 4 แสนตัน ปี 60 1.2 แสนตัน (ปีนี้กำลังผลิตในประเทศพุ่ง 79 ล้านตันข้าวเปลือก การบริโภคในประเทศ 60 ล้านตันข้าวเปลือก แต่ยังมีการนำเข้า ปรกตินำเข้าปีละประมาณ 1-2 ล้านตัน )
อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีพื้นที่ลุ่มน้ำที่เหมาะสำหรับการปลูกข้าวจำกัด กำลังผลิตข้าวในประเทศ เลี้ยงคนได้ประมาณ 80% เท่านั้น และกำลังอยู่ในภาวะน้ำทะเลหนุนสูง ท่วมไปหลายเกาะแล้ว ภาวะไคลเมทเชนจ์ก็อาจจะกำลังกระทบจีน จากภาวะความเปลี่ยนแปลงในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ของจีน ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย
ปี 2555 ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิได้ 1.38 - 1.91 ล้านตัน 1,088 ดอลลาร์/ตัน มูลค่า 47,132 ล้านบาท
ปี 2556 ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิได้ 1.48 - 1.91 ล้านตัน 1,176 ดอลลาร์/ตัน มูลค่า 51,618 ล้านบาท
ปี 2557 ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิได้ 1.34 - 1.86 ล้านตัน 1,168 ดอลลาร์/ตัน มูลค่า 44,974 ล้านบาท
ปี 2558 ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิได้ 1.39 - 1.98 ล้านตัน 820 - 1035 ดอลลาร์/ตัน มูลค่า 44,860 ล้านบาท
ปี 2559 ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิได้ 1.54 - 2.37 ล้านตัน 811 ดอลลาร์/ตัน มูลค่า 42,318 ล้านบาท
ปี 2560 ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิได้ 1.61 - 2.3 ล้านตัน 1040 ดอลลาร์/ตัน มูลค่า 41,919 - 42,049 ล้านบาท
( หน่วยงานรัฐแต่ละแห่งมีตัวเลขการส่งออกที่ต่างกัน )
ปี 2555 ไทยส่งออกข้าวได้รวม 6.73 ล้านตัน มูลค่า 142,976 ล้านบาท
ปี 2556 ไทยส่งออกข้าวได้รวม 6.61 ล้านตัน มูลค่า 133,851 ล้านบาท
ปี 2557 ไทยส่งออกข้าวได้รวม 10.96 ล้านตัน มูลค่า 174,852 ล้านบาท
ปี 2558 ไทยส่งออกข้าวได้รวม 9.79 ล้านตัน มูลค่า 155,912 ล้านบาท
ปี 2559 ไทยส่งออกข้าวได้รวม 9.88 ล้านตัน มูลค่า 145,233 - 154,690 ล้านบาท
ปี 2560 ไทยส่งออกข้าวได้รวม 11.25 ล้านตัน มูลค่า 174,503 - 175,160 ล้านบาท
ประเทศผู้นำเข้าข้าวไทย 5 อันดับแรก
เบนิน ปี 2558 805,765 ตัน ปี 2559 1,427,098 ตัน ปี 2560 1,811,164 ตัน ( การนำเข้าสูงมากขนาดนี้เกิดจากไนจีเรียประเทศติดกันขึ้นภาษีนำเข้าข้าวเป็น 75% - 113% )
จีน ปี 2558 958,368 ตัน ปี 2559 1,034,103 ตัน ปี 2560 1,199,737 ตัน
[img]https://money2know.com/wp-content/uploads/2018/05/ส่งออกข้าว-681x243.jpg[/img]
ประเทศผู้ส่งออกข้าว 5 อันดับแรก
ไทย เฉลี่ยปีละ 10 ล้านตัน
อินเดีย ปีละ 10 ล้านตัน
เวียดนาม ปีละ 6 ล้านตัน
ปากีสถาน ปีละ 3 ล้านตัน
สหรัฐอเมริกา ปีละ 3 ล้านตัน
อเมริกามีแหล่งปลูกข้าวอยู่ 7 แหล่งใหญ่ๆ ผลิตได้ปีละประมาณ 10 ล้านตัน ส่งออกปีละประมาณ 2 - 3 ล้านตัน ราคา FOB จะไล่เลี่ยกับข้าวขาวของไทย ส่งออกไปเม็กซิโก อเมริกากลาง ตะวันออกกลาง มีนำเข้าข้าวจากปากีสถาน และออสเตรเลียด้วย
กลุ่มประเทศผู้ผลิตข้าวกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เช่น ญี่ปุ่น ( 16 ล้านคน ) จีน ( 222 ล้านคน ) ไทย ( 10 ล้านคน ) เวียดนาม ( 8 ล้านคน ) อินโดนีเซีย ( 21 ล้านคน จาก 257 ล้านคน ) อินเดีย ( 85 ล้านคน จาก 1300 ล้านคน )
ส่วนสงครามการค้าจะพัฒนาขึ้นไปเป็นสงครามจริงนั้นยากที่จะบอกได้ ปรกติคอฟโก้ รัฐวิสาหกิจจีนน่าจะสำรองข้าวไว้ปีละประมาณ 80 ล้านตัน(น่าจะเป็นลักษณะไซโลหมุนเวียนเมล็ดพันธุ์ด้วย ในจีนผลิตได้ปีละประมาณ 200 ล้านตันข้าวเปลือก ข้อมูลนี้สำรวจเมื่อหลายปีก่อนแต่ตัวเลขจริงยากที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงได้เพราะเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารของรัฐบาลจีน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าปี 2003 ปีที่ไข้หวัดนกระบาด และสงครามอิรักกับอเมริกาในอ่าวเปอร์เซีย กำลังผลิตข้าวของจีนลดลงเหลือเพียง 160 ล้านตัน จากข้อมูลของ FAO ปี 2524 จีนมีพื้นที่เพาะปลูกข้าว 214 ล้านไร่ ลดลงเหลือ 191 ล้านไร่ในปี 2544 (2001) และลดลงเหลือ 188 ล้านไร่ในปี 2557 ) แต่โครงการรับจำนำข้าว สมัยยิ่งลักษณ์ ทำให้ ตัวเลขสต็อคข้าวของรัฐบาลจีนเมื่อรวมกับรัฐบาลไทยไต่ระดับ 100 ล้านตัน มีผลทำให้สงครามจริงระหว่างจีนกับอเมริกาเกิดขึ้นได้ยากในระยะ 5 ปี เพราะตั้งแต่มีโครงการจำนำข้าวมา การส่งออกข้าวไทยเพิ่งจะไต่ระดับเกิน 11 ล้านตันได้เมื่อปีที่แล้ว ซัพพลายข้าวในประเทศส่วนนึงหรือส่วนใหญ่ยังหมุนเวียนอยู่ในประเทศ ส่งผลให้ข้าวหอมมะลิเก่าราคาในประเทศตก แต่ข้าวใหม่ราคาขึ้นไปกิโลกรัมละ 40 บาทแล้ว เรียกได้ว่ามีข้าวกินดีกว่ามีสงคราม
A Jakkaphong
ที่ปรึกษาแก้ปัญหาทางธุรกิจ ปรึกษาทำเลธุรกิจ ข้อมูลธุรกิจ ที่ปรึกษาการลงทุน ข้อมูล ข่าวสาร เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง ยุทธศาสตร์ การบริหาร กลยุทธ์การจัดการ
วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561
วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560
วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วิเคราะห์นโยบายเกษตรแปลงใหญ่
จะทำให้สินค้าประเภท ผ้าปูตากข้าว รถไถ สายยางระดับน้ำ ข้อต่อสายยาง เสาปูน ขายดี
วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วิเคราะห์ปัญหาด้านราคาข้าวในปัจจุบัน
การที่ไม่มีออเดอร์เข้ามา แต่ราคาส่งออกสูงขึ้นแล้ว ถ้าหากรัฐบาลสั่งระงับการขายข้าวในสต็อคของรัฐบาลทั้งหมด ผู้ส่งออกจะสามารถรับออเดอร์ได้ทันที การขายข้าวในสต็อครัฐบาลถ้าหากไม่ได้ข้อแลกเปลี่ยนทางการค้าที่คุ้มค่าคุ้มราคา ข้าราชการที่เกี่ยวข้องควรล้มข้อตกลง ถึงแม้จะต้องติดคดีก็ตาม
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วิเคราะห์ผลกระทบจากการที่ทรัมพ์ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอเมริกา
ชาวอเมริกันเลือกทรัมพ์กันเยอะเพราะอยากได้นโยบายอเมริกาเฟริสท์ที่จะเน้นการสร้างงาน งบกลาโหมโลกอาจจะพุ่งขึ้น5-9ปี แต่ระยะยาวงบประมาณโลกน่าจะกลับมาลงที่การค้าและการแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างแท้จริง แต่ทั้งนี้การที่ทรัมพ์ได้รับเลือกเร็วเกินไปอาจทำให้เขาเสียโอกาสที่จะอยู่ยาวได้ถึง8ปี เพราะปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐช่วงนี้จะแก้ยากมากจนเขาอาจจะเสียคะแนนนิยมไปในสมัยหน้า
วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ภาวะการณ์ตลาดเงินอเมริกา และการไต่ระดับของตัวเลขเงินฝาก
โอกาสที่จะได้เงินจากการลงทุน ในตลาดอเมริกา ต้องมีข้อมูลการเงิน การเมืองระหว่างประเทศแม่นๆเท่านั้น จากการที่สหรัฐอเมริกามีตัวเลขเงินฝากไต่ระดับจาก 6 ล้านๆเหรียญปี 2008 สูงขึ้นมาถึง 12 ล้านๆเหรียญในปัจจุบัน ทั้งๆที่ตัวเลขการจ้างงานภาคการผลิตกำลังลดลงเรื่อยๆบ่งบอกว่าเงินจำนวนนี้ถูกดูดมาจากแมงเม่าในตลาดเงิน และการไต่ระดับช่วงดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับตัวเลขเศรษฐกิจของจีนที่ในบางเรื่องเช่นกัน บ่งบอกสภาวะการสะสมตัวที่น่ากังวลบางอย่างที่อาจจะเกิดเรื่องร้ายแรงบางสิ่ง การลงทุนมีความเสี่ยง ถ้าข้อมูลไม่แน่นปึ๊กให้หาทางลดความเสี่ยงมาเล่นตลาดในประเทศจะดีกว่า
http://www.bankregdata.com/allDP.asp
https://fred.stlouisfed.org/series/DPSACBW027SBOG
http://www.bankregdata.com/allDP.asp
https://fred.stlouisfed.org/series/DPSACBW027SBOG
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ทายผลการเลือกตั้งในสหรัฐ
ฮิลาลี คลินตัน จะเป็นฝ่ายชนะในที่สุด แต่จริงๆแล้วนโยบายของทรั๊มพ์หลายอย่างมีข้อดีหลายอย่างทั้งต่อสหรัฐและต่อโลก แต่สถานการณ์ปัจจุบันมีความเสี่ยงมากเกินไปถ้าหากทรัมพ์ได้เป็นประธานาธิบดีตอนนี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)