โครงการรับจำนำข้าว ในมิติของเศรษฐศาสตร์การค้าข้าวตราเสือโลก Rice mortgage scheme In terms of economics, trade, World Tiger brand.
เขตการค้าเสรี แนวโน้มในอนาคต ภาษีจะเป็นอุปสรรคทางการค้าที่จะมีแนวโน้มในทิศทางที่ลดลง แนวโน้มดังกล่าว บางประเทศที่บริโภคข้าว ได้เตรียมการขอโควต้าเป็นลักษณะ
แปลงนาจากกลุ่มโรงสีในบางจังหวัด ซึ่งมีทั้งการรวบรวมแปลงที่ดิน และการใส่เขียว สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง บริษัทขนาดใหญ่ของไทยบางแห่งก็เริ่มทำการซื้อ
ที่ดินเพื่อการผลิตข้าว รวมทั้งผู้ซื้อต่างประเทศได้เข้ามาซื้อถึงแปลงนาข้าวปลอดสารพิษ แปลงข้าวหอมมะลิที่มีพิกัดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึงแนวโน้มการตั้งราคาเพื่อเจาะ
กำแพงภาษีในอนาคตจะทำให้ชาวนา และผู้ค้าข้าวเสียโอกาสทางการค้า การค้าข้าวผ่านระบบแลกเปลี่ยนสินค้า และจ่ายกันผ่านโพยก๊วนต่อไปจะเกิดผลเสียต่ออุตสาหกรรมข้าวเพิ่ม
ขึ้นได้เรื่อยๆ
นโบายรับจำนำข้าวจึงเป็นยุทธศาสตร์ชนิดทุบหม้อข้าวชนิดนึง เพราะผลประโยชน์ในวงการส่งออกนำเข้าผลผลิตทางการเกษตรผลกำไรของ 132 บริษัท ถ้าผลกำไร บริษัทละ 1000
ล้านบาท ตกปีละ ไม่ต่ำกว่า แสนล้านบาท
ตัวเลขการรับจำนำข้าว ตัวเลขการส่งออก ตัวเลขข้าวเสียหายจากน้ำท่วม ราคาและตัวเลขการส่งออกข้าวของประเทศอื่น บ่งบอกทางเศรษฐศาสตร์การค้าว่า ราคาข้าวปีนี้ ตลาดนำเข้า
ข้าวในต่างประเทศยอมรับราคาที่ขึ้นมา 5000 บาท ต่อตันแล้ว โดยจ่ายผ่านระบบโพยก๊วนมา 20000 - 22500 ล้านบาท หรือมากกว่านี้ เพื่อมาจ่าย ค่าใช้จ่าย ในการกว้านหาข้าวมาส่ง
ออก เพราะราคาที่ต่างกันกว่า 5000 บาท ต่อตัน ชาวนาก็คิดเลขเป็นเหมือนกัน ถ้าไม่ร้อนเงินจริงๆก็ไม่ขายหรอก และยินดีรอมากกว่า ข้าวที่ผู้ส่งออกพอจะหาได้ จึงไม่น่าจะเกิน 1-1.5
ล้านตัน เป็นอย่างมาก ข้าวที่ส่งออก จึงเป็นข้าวที่กว้านมาจากชาวนาในราคาสูง ส่วนนึงมาจากการใส่เขียว และข้าวในพอร์ท ของกลุ่มโรงสี คือข้าวในที่ดินของกลุ่มผู้ส่งออก โรงสี
และชาวนาที่ได้รับสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง รถไถ และ รถเกี่ยวข้าว เมื่อนำมาหักจากข้าวที่ประมูลมาจากรัฐบาล เป็นตัวเลขที่บ่งชี้ว่า ตลาดของผู้ส่งออกไม่ได้รับผลกระทบ
เพราะส่วนใหญ่เป็นการส่งออกข้าวหอมมะลินั้น ตัวเลขห่างกันเยอะ เพราะตัวเลขส่งออกข้าวหอมมะลินั้นปีละประมาณเพียง 2 แสนตัน แสดงว่า มีการส่งออกข้าวหอมมะลิมากกว่า
นั้นมาก จำนวนที่ส่งออกระดับ 2 แสนตัน เป็นเพียงจำนวนสร้างราคาอ้างอิงเพื่อการส่งออกเท่านั้น แต่ส่งออกไปในชื่อข้าวอื่นแทน และบรรดาร้านอาหารไทย ในต่างประเทศ ยอม
ให้ส่งออกในชื่ออื่นได้ แต่ข้าวหอมมะลิต้องมาจากเมืองไทย เนื่องจากโครงสร้างเดิมคือการซื้อเป็นกระสอบใหญ่ แต่ปัจจุบัน กำลังอยู่ในโครงสร้างข้าวถุง 5 กิโลกรัม และในอนาคต
จะเป็น บาร์โค๊ดระบุสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เวลาที่หน่วยงานรัฐขอตัวเลขสต๊อคข้าวของกล่มผู้ส่งออก จะรวบรวมได้ช้ามากทั้งๆที่ต้องมีบัญชีการนำข้าวเข้าออกในแต่ละวัน และ
ปัจจุบันน่าจะใช้คอมพิวเตอร์กันหมดแล้ว ตัวเลขผลประโยชน์หดหายไปไม่ต่ำกว่า แสนล้านบาท จึงยอมไปเจรจาขอขึ้นราคาข้าวจากต่างประเทศ แต่เมื่อได้มาแล้ว กลับมากดราคาส่ง
ออกเนื่องจากมีภาระการใส่เขียวต้องไปซัพพอร์ทชาวนาที่เพิ่มขึ้นโดยอ้างว่าประเทศไทยสต็อคเยอะล้นตลาด ทั้งๆที่บัฟเฟอร์ข้าวของตลาดโลกกำลังจะหมด เพื่อเก็งกำไรทิ้งช่วงให้
บัฟเฟอร์ขาด และข้าวเกิดการตึงตัวจนเกิดการฉุดราคาและจำนวนมาสามปีแล้ว ปีนี้ กลุ่มโรงสีที่รู้เรื่องว่าทำไมถึงมีการมาขอให้ใส่เขียว เริ่มศึกแย่งชิงผลการเก็งกำไร โดยมาแย่ง
ประมูลข้าวเป็นจำนวนมาก เรื่องนี้จะเป็นผลประโยชน์ต่อชาวนาในระยะยาว คือชาวนารุ่นใหม่อาจจะไม่ต้องปวดหลังแล้ว เพราะระบบการปลูกข้าวรุ่นใหม่ที่มีการพัฒนาเป็นนา
โยนเพื่อแก้ปัญหาโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท แต่ ต่อไปรัฐบาลจะเป็นฝ่ายปวดหลังแทน แต่เนื่องจากสสารหายไปจากโลกเฉยๆไม่ได้ จำนวนการสูญเสียผลประโยชน์จึงเป็น
เพียงเรื่องระยะสั้น และส่วนนึงทำกำไรจากการดูดข้าวของประเทศเพื่อนบ้านมาแล้ว ตั้งแตปี 54 คือ ปรกติไทยผลิตข้าวได้ ประมาณ 16- 18 ล้านตัน บริโภคในประเทศ 9 ล้านตัน น้ำ
ท่วมเสียหาย 5-6 ล้านตัน แต่เข้าโครงการจำนำข้าว ถึง 12 ล้านตัน หมายถึง มีการนำข้าวประเทศเพื่อนบ้านมาเข้าโครงการรับจำนำข้าว ไม่ต่ำกว่า 2- 5 ล้านตัน เป็นเงินที่กลุ่มโรงสี
ทำกำไรไปแล้วในปีแรก ไม่ต่ำกว่า 10000-25000 ล้านบาท ยังไม่รวมราคาที่เพิ่มขึ้นจากการตึงตัวในตลาดส่งออกข้าวโลก เพราะข้าวหายไปจากตลาด กว่า 17-18 ล้านตัน และโครง
สร้างการค้าข้าวเป็นการขอโควต้า เมื่อ ไทย กัมพูชา พม่า มีข้าวส่งออกน้อยลง อินเดียและเวียดนาม จึงค่อยๆปล่อยข้าว เพราะรับรู้มาล่วงหน้าแล้วว่าไทยรับจำนำข้าวสูงกว่าราคาตลาด
ตันละ 5000 บาท เมื่อจะเกินโควต้าที่เคยส่งออก จึงเกิดการต่อรองขอราคาต่างตอบแทนเพิ่ม เมื่อส่งออกเกินจำนวนจึงฉุดราคาขายปลีกในประเทศ ซึ่งเป็นช่วงเก็งกำไรได้สูงที่สุด
ดังนั้นราคาข้าวในอัตราราคาต่างตอบแทนและราคาภายใต้ระบบโพยก๊วนจึงขึ้นมาตั้งแต่ปีแรก ตันละไม่ต่ำกว่า 500-2500บาท และมีข้าวที่ไม่ใช่ข้าวในคลังของรัฐบาลเข้าสู่ตลาด
ล่วงหน้า หรือ AFET น้อยมาก เรื่องนี้ บังคับให้กลุ่มผู้ส่งออกต้องเผ่นไปประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อไปหาข้าวมาป้อนกลุ่มลูกค้าในมือ และลูกค้าในแต่ละประเทศมีจำนวนข้าวที่ต้องการ
ค่อนข้างเป็นจำนวนที่คงที่ เพราะมนุษย์ต้องกินข้าวทุกวัน ส่วนปีที่ 2 ของการรับจำนำ ราคาข้าวในอัตราราคาต่างตอบแทนและราคาภายใต้ระบบโพยก๊วน ขึ้นมาไม่ต่ำกว่า ตันละ
3000-4500 บาท เพราะกลุ่มโรงสีเริ่มหาข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาเข้าโครงการรับจำนำไม่ได้
และเรื่องข้าวเป็นสาเหตุนึงที่ประชาธิปัตย์ไม่เคยกุมเสียงของชาวนาได้ คือถึงชาวนาไม่รู้เรื่องทั้งหมด แต่ก็พอเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร ฝ่ายที่ควรปฏิรูปคือ นโยบายพรรคประชา
ธิปัตย์ต่อคนจน และกลุ่มชาวนา รวมทั้งการหวังพึ่งระบบการเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์ เพราะสู้ทางวิศวกรรมเคมีไม่ได้ อาศัยการหันหางเสือตามทิศทางลมเดโมแครตสหรัฐ จึงไม่ใช่
เรื่องที่ควรทำเป็นอันดับแรก ทุกครั้งที่มีการจ่ายผ่านระบบโพยก๊วนในระดับหมื่นล้าน จะมีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทเสมอ โดยเฉพาะถ้าในช่วงนั้นดัชนีเศรษฐกิจโลกไม่ได้
มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมาก และการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทขึ้นลงในช่วงแคบๆ แสดงว่ามีการเฉลี่ยจ่ายเป็นเงินสกุลดอลล่าร์ เงินปอนด์ และเงินยูโร
และแนวโน้มสิ่งที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการกดราคารับซื้อข้าวเปลือกของกลุ่มโรงสี จนข้าวเปลือกราคาตันละ 5-6000 ในขณะที่ราคาข้าวสารไม่ลดลงเลย คือ ชาวนารุ่นใหม่ จะทำการ
ขายตรง อันเนื่องมาจากระบบการสื่อสารที่ดี ชาวนาบางหมู่บ้านมีรถกระบะไว้ใช้แล้ว และข้อจำกัดเรื่องทำเลในการขายข้าวในตลาดจะเป็นอุปสรรคการขายที่ลดลง เพราะปัจจุบัน
ชาวนามีโทรศัพท์มือถือ และจะขายสินค้าผ่านเว็บ ทางอีเมลล์ และการสั่งซื้อทางโทรศัพท์ได้ไม่ยาก โรงสีที่เพียงแต่สีข้าวบรรจุถุงขายในประเทศ ถ้าไม่ปรับตัวเพื่อการส่งออก ก็จะได้
รับผลกระทบในอัตราที่สูงขึ้นตามเวลาของเทคโนโลยี
สหกรณ์ กลุ่มชาวบ้าน หลายแห่งที่มีโรงสี ก็เริ่มขายข้าวตรงกับต่างประเทศแล้วด้วย ด้วยอัตราความก้าวหน้าของโลกในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากที่จะกักผลประโยชน์ไว้กับ
คนแค่บางกลุ่มอีกต่อไป
เมื่อรวมยอดส่งออกข้าวของโลกต่อปี คูณด้วยมูลค่าแฝงทางเศรษฐศาสตร์ ตันละ 5000 บาท โครงการรับจำนำข้าวของไทย สร้างคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ ให้ ตลาดข้าวโลกเพิ่มขึ้น
ประมาณ 190000 ล้านบาท ในปี 2556 ที่ยอดส่งออกข้าวของโลก 38 ล้านตัน ในปี 2555 โครงการรับจำนำข้าวของไทย สร้างคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ ให้ ตลาดข้าวโลกเพิ่มขึ้น
ประมาณ 117000 -175500 ที่ยอดส่งออกข้าวของโลก 39 ล้านตัน รวม 2 ปี เป็นมูลค่าแฝงทางเศรษฐศาสตร์ประมาณ 307000 - 365500 ล้านบาท
ส่วนตัวเลขการส่งออกข้าวของโลก ปี 2554 มีความลึกลับซับซ้อนมาก ยังหาข้อมูลที่แท้จริงไม่ได้ อาจจะเกิดจากการที่ข้าวหายไปจากตลาดโลก สิบกว่าล้านตัน การค้าที่แท้จริงจึงซับ
ซ้อนไปด้วย เนื่องจากราคาจริงของข้าวขึ้นไปสูงมาก แนวโน้มพฤติกรรมของผู้นำเข้าข้าวจึงหดตัวลง และสั่งข้าวเพียงแค่พอขาย ไม่สั่งข้าวไว้สำรองขายเหมือนที่เคย ราคาข้าวใน
ตลาดโลกปัจจุบันที่ดิ่งลงอย่างแรงๆนี้ ถามว่า ทำไมผู้นำเข้าในต่างประเทศจึงไม่สั่งตุนไว้ คือ จริงๆแล้วพวกเขาก็อยากจะทำไว้เก็งกำไรช่วงบัฟเฟอร์โลกขาดช่วง แต่ พวกเขาหา
โควต้าไม่ได้ ส่งผลให้ตัวเลขสำรองข้าวสูงขึ้นไปอีก และถูกนำมาใช้ในการกดราคาส่งออกอีกครั้ง เพื่อการเก็งกำไรช้อนซื้อข้าวจากโครงการรับจำนำ ส่งผลให้การประมูลข้าว
กระท่อนกระแท่น ปล่อยออกมาได้ปีละไม่มาก เพราะผู้ส่งออกพยายามไม่แสดงตัวเลขความต้องการของต่างประเทศ สิ่งที่อาจจะเกิดคือ ผู้นำเข้าในต่างประเทศ จะมาตั้งบริษัทใน
ประเทศไทย เพื่อการประมูลข้าวไปขาย แต่ยังหาอาคารที่ตั้งสำนักงานไม่ได้ และอาจจะเกิด บริษัทค้าข้าวระหว่างประเทศขนาดใหญ่ แต่ต้องตั้งบริษัทในหมู่บ้านจัดสรรเล็กๆแทน
และถ้าใช้ตัวเลขส่งออกประมาณการ ของปี 2554 ที่ 38 ล้านตัน หักกำลังซื้อที่หดตัว ลง 1ล้านตัน เนื่องจากราคาข้าวที่แท้จริงสูงขึ้น เพราะข้าวขาดไปจากความต้องการของตลาดโลก
17 ล้านตัน ประมาณ 40 % หรือ เกือบครึ่งนึงของความต้องการตลาดโลกในการบริโภคข้าว จะเท่ากับมีข้าวเหลือสำหรับการส่งออกในช่องทางปรกติ อยู่เพียง ประมาณ 20 ล้านตัน
ตัวเลขประมาณการที่ว่า ราคาข้าวในอัตราราคาต่างตอบแทนและราคาภายใต้ระบบโพยก๊วน ในปีแรก อาจจะขึ้นสูงกว่าประมาณการในเบื้องต้นของที่กล่าวไป เพราะโควต้าส่งออก
ขาดแคลนถึงขั้นวิกฤติ อีกทั้ง ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก อย่างเช่น อินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ล้วนอยู่ในโซน เขตร้อนฤดูการผลิตที่ค่อนข้างจะ
พร้อมกัน คือราคาน่าจะขึ้น ถึง 3000 บาท ต่อตัน เป็นมูลค่าแฝงทางเศรษฐศาสตร์ประมาณ 60000 ล้านบาทในเบื้องต้น ยังไม่รวมจำนวนที่มีการระดมกว้านซื้อออกจากมือของ
เกษตรกรในช่วงหลังของฤดูการผลิต ปี 2554/2555 และการประมูลในช่วงปี ซึ่งตัวเลขน่าจะถึง 5-12 ล้านตัน ตีเป็นตัวเลขประมาณการที่ 8 ล้านตัน ที่ราคาเพิ่มขึ้นมา 3500 บาทต่อตัน
จะเป็น เป็นมูลค่าแฝงทางเศรษฐศาสตร์ประมาณ 28000 ล้านบาท
รวมๆแล้ว รัฐบาลไทย ใช้เงินประมาณ 6 แสนล้านบาท ในโครงการรับจำนำข้าว ขาดทุนตัวเลขอยู่ประมาณ 2 แสนล้านบาท เกิดมูลค่าแฝงทางเศรษฐศาสตร์ข้าวโลกประมาณ 395000
-453500 ล้านบาท สรุปได้ว่าตัวเลขขาดทุนของรัฐบาลไทย ได้ไปอยู่ในมือของผู้ค้าข้าวไทยแล้วจำนวนมากกว่า 2 แสนล้านบาท แต่ยังมีข้าวเหลือ รอการขายอยู่ภายใต้วิศวกรรมการค้า
อีกหลายล้านตัน และมีการประมูล ออกไปไม่กี่ครั้ง ครั้งละจำนวนไม่มาก ส่วนการที่รัฐบาลจีนตกลงสั่งซื้อข้าวจากรัฐบาลไทยนั้นมีผลต่อการลดความต้องการข้าวจากตลาดมืดใน
แนวชายแดน เวียดนามลง 1 ล้านตัน ส่งผลต่อการต่อรองราคาราคาข้าวในอัตราต่างตอบแทนและราคาภายใต้ระบบโพยก๊วน อยู่ที่ประมาณ 100 บาท แต่ ตัวเลขสต็อคข้าวของรัฐบาล
ไทยลดฮวบไป 1ล้านตันเช่นกัน แต่ คราวนี้ผู้ค้าข้าวไทยจะนำไปใช้ต่อรองโควต้าส่งออกในราคา ตันละประมาณ 200-300 บาท การที่คอฟโก้ของจีนซื้อ เป็นการซื้อเข้าคลังจริงๆ
แล้วน่าจะมีผลต่อราคาตลาดน้อยมาก แต่ราคาในตลาดโลกกลับไต่ระดับลง เนื่องจากหมายถึงปีนี้ ผู้ส่งออกนำไปต่อรองว่าต้องมีภาระการกว้านหาซื้อข้าวแย่งจากผู้ซื้อฝ่ายรัฐบาล จึง
ต้องขออัตราส่วนเพิ่ม เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่ต้องการลดในส่วนของตัวเองมาก จึงนำไปกดราคาส่งออกลง
รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากราคาข้าว ต้องเตรียมการนำมาใช้สร้างระบบ แนวเขื่อนกั้นน้ำทะเล เทคโนโลยีของเนเธอร์แลนด์ เพื่อรักษาพื้นที่เพาะปลูก และ เมืองหลวง
ข้อมูลนี้เกิดจากการอนุมาณตามหลักตรรกศาสตร์ อาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริงทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องมูลค่าทางการค้าต่างตอบแทนที่ตีเป็นจำนวนเงินได้ยาก โดยสังเกตุจากผลกำไรของบริษัทนำเข้าส่งออกสินค้าเกษตรที่มีผลกำไรสูงมาก เป็นข้อมูลปรุงแต่งเพื่อให้เห็นภาพมูลค่าทางการค้า และแต่งขึ้นเปรียบเทียบเพื่อคาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในวงการค้าข้าว แล้วก็คนในวงการค้าข้าวจะบอกว่า กลไกตลาด ทำให้เกษตรกรขายได้ราคาที่ต่างจากราคาขายในต่างประเทศอย่างมาก เนื่องจากกว่าจะถึงลูกค้าปลายทางจะผ่านมือพ่อค้า 4-6 ทอด แต่ละช่วงการขายจะมีกำไรไม่เยอะ แต่จะมีอยู่ช่วงนึงที่ถีบราคาห่างกันมากคือ ผู้รับซื้อในต่างประเทศไปขายปลีก ซึ่งถ้าหากมีกลุ่มสหกรณ์ที่เข้มแข็งพอส่งขายปลีกในต่างประเทศ ตลาดน่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงคือ ผู้ค้าไทย และต่างประเทศต้องทำการค้าเชิงรุก คือการเข้ามาประมูลตรง และ การที่ผู้ค้าไทยจะไปตั้งสาขาขายปลีกในต่างประเทศ ช่วงที่ผ่านมาราคาโควต้าข้าวมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงสูงมากมีผลต่อตลาดต่างประเทศคาดว่าจะอยู่ในราว 40000-2แสนต่อตัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น